ข้อมูลโรงเรียน

ข้อมูลทั่วไป

1.1 ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองโสมง ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแขม หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 369170 โทรศัพท์ 044-870335 ติดถนนสายบ้านเขว้า– หนองบัวบาน ระยะทางจากโรงเรียน ถึง อำเภอบ้านเขว้า ประมาณ 10 กิโลเมตร และถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1 ประมาณ 25 กิโลเมตร

1.2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนปฐมวัยศึกษา ถึง ระดับประถมศึกษาปีที่ 6

1.3 มีเขตพื้นที่บริการ บ้านหนองโสมง หมู่ที่ 8 และบ้านหนองแขม หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า

ข้อมูลด้านการบริหาร

2.1 ชื่อ-สกุลผู้บริหาร นางพัชรณัฎฐ์ พลมณี วุฒิการศึกษาสูงสุด ปริญาเอก(ปร.ด.) สาขา เคมี

ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562 - ปัจจุบัน

2.2 ประวัติ คำขวัญ ของสถานศึกษา

แต่เดิมนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองโสมง ต้องเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านคลองไผ่งาม การเดินทางลำบากมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน นักเรียนต้องข้ามน้ำที่ไหลเชี่ยว ชาวบ้านเกรงจะเกิดอันตราย ปีการศึกษา 2498 ทางราชการได้มีคำสั่งแยกโรงเรียนและได้อาศัยศาลาวัดบ้านหนองโสมงเป็นที่ทำการสอน

วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2499 จึงขอจัดตั้งโรงเรียนที่ศาลาวัดบ้านหนองโสมง และได้แต่งตั้งนายชุณห์ ว่องประจัญ มาทำการสอน และเป็นครูใหญ่คนแรก

วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ทางการแต่งตั้งให้นายรวย ดีชัย ครูโรงเรียนบ้านโนนแดง มาเป็นครูผู้สอน และได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนวัดบ้านหนองโสมง

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ชาวบ้านสละที่ดินร่วมกันสร้างโรงเรียนชั่วคราว2 ห้องเรียน ในเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน โดยชาวบ้านสละแรงงานและทุนทรัพย์ร่วมกัน

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2502 ทางการได้จัดสรรงบประมาณซื้อสังกะสี จำนวนเงิน 1,890 บาทแต่ยังไม่เพียงพอและได้จัดสรรงบประมาณค่าซ่อมแซมให้อีก 3,000 บาท

วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2504 ทางการได้แต่งตั้งนายหวัน วงษ์จักษุ ครูโรงเรียนบ้านกุดหูลิง มาเป็นครูที่โรงเรียนบ้านหนองโสมง และให้นายรวย ดีชัย ย้ายในวันเดียวกัน

วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2505 ได้เกิดวาตภัยพัดหลังคาฝาโรงเรียนพังเป็นเหตุให้เด็กไม่มีที่เรียนจึงได้ไปอาศัยศาลาวัดเรียน ครูโรงเรียนจึงสละเงินซ่อมแซมอาคารเรียน

วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2505 ทางการจัดสรรงบประมาณ 20,000 บาทให้ขยายออกเป็น 3 ห้องเรียนระยะนี้นักเรียนไปอาศัยอยู่ที่วัด 1 มกราคม 2506 จึงเปิดทำการสอน

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 นายชุณห์ ว่องประจัญได้ยื่นใบลาออก นายหวัน วงษ์จักษุ ได้เป็นผู้รักษาการแทน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แต่งตั้งนายพัฒน์ บุญตาม ครูโรงเรียนบ้านโนนขี้ตุ่น มาเป็นครูใหญ่

วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ทางการได้ย้ายนายวิญญู สมพงษ์ ครูตรีโรงเรียนบ้านโนนตาด มาเป็นครูผู้สอน

ในวันที่ 11 ธันวาคม 2517 ได้แต่งตั้งให้เป็นครูใหญ่

วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ทางราชการได้แต่งตั้งนายชาตรี ปาลพันธุ์ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองโสมง

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งให้นายชาตรี ปาลพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง

อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองโสมง

วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งให้นายชาตรี ปาลพันธุ์ ดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโสมง จนถึงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2551 ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายประพันธ์ ยอดวงษ์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโสมงจนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์โรงเรียน

­“มุ่งพัฒนาการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ประสานความร่วมมือกับชุมชน พัฒนาคนให้สมบูรณ์

เพิ่มพูนด้านเทคโนโลยี น้อมนำชีวีสู่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

ปรัชญา โรงเรียน /พุทธศาสนสุภาษิต

นตฺถิ ปญฺญา สมา อาภา “แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี”

คำขวัญโรงเรียนบ้านหนองโสมง

“ เรียนดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำหลักเปรัชญาศรษฐกิจพอเพียง”

อักษรย่อของโรงเรียน น.ม

สีประจำโรงเรียน

สีแสด หมายถึง สติปัญญาและความสดชื่นแจ่มใส สีน้ำเงิน หมายถึง ความหนักแน่น มั่นคง

ต้นไม้ประจำโรงเรียน “ ต้นทองกวาว ”

พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาผู้เรียนให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

2. ประสานความร่วมมือกับชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม แบบวิถีพุทธ โดยใช้กระบวนการลูกเสือ ฝึกให้ผู้เรียนมีวินัย

ในตนเอง ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

5. พัฒนาภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้สะอาดร่มรื่นสวยงาม น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน

เป้าประสงค์ (Corpolate Objective )

โรงเรียน บุคลากร นักเรียน มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

เป้าหมายของโรงเรียน

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการลูกเสือเข้ามาบูรณาการในการบริหารจัดการศึกษา การจัดการเรียนรู้ ตลอดจนกิจกรรมนักเรียน

1. นักเรียนมีความรับผิดชอบมีระเบียบวินัยขยันอดทน ซื่อสัตย์ และมีน้ำใจ

2. นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การศึกษาครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม

แบบวิถีพุทธได้ อย่างมีความสุข

3. นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อ่านหนังสือออก เขียนสื่อสาร คิดเลข บวก ลบ คูณ หารได้

4. นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้คอมพิวเตอร์เป็น สามารถสืบค้นหาข้อมูลความรู้จาก

อินเตอร์เน็ต ได้ด้วยตนเอง

5. จัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น ใช้สื่อการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนใฝ่รู้ใฝ่เรียน แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

6. เร่งรัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรองรับการประเมินภายนอก

7. ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล การใช้จ่ายงบประมาณ/การเงินอย่างมีระบบโปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาล และนำเทคโนโลยี มาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนรู้

8. ส่งเสริมให้มีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฝึกให้นักเรียนมีคุณธรรม นำประชาธิปไตย ห่างไกลยาเสพติด